Terms on Dramatic Situations

Terms on Dramatic Situations
Terms on Dramatic Situations

Terms on Dramatic Situations – ความสุขอย่างหนึ่งที่ช่วยคลายเครียดได้คือการดูหนังชมละคร โดยเฉพาะเรื่องที่เข้มข้น มีเหตุการณ์ต่างๆ ที่ชวนลุ้นหรือดึงให้เกิดอารมณ์ร่วมคล้อยตาม มีศัพท์สำนวนที่ใช้บ่อยกับการอธิบายหรือพูดถึงสถานการณ์เข้มข้นประเภทต่างๆ ในหนังละครอยู่มากมาย ซึ่งส่วนใหญ่จะเอามาใช้กับชีวิตจริงได้ด้วย เพราะหนังละครส่วนใหญ่ก็เป็นภาพจำลองของชีวิตจริงนั่นเอง ลองมาดูสักสามสำนวนกันค่ะ ได้แก่ dilemma, cliff-hanging และ reversal of fortune

Terms on Dramatic Situations

dilemma – คำนามที่มีรากมาจากคำภาษากรีกคำนี้ ใช้อธิบายถึงสถานการณ์ที่ตัวละคร (หรืออาจเป็นชุมชนหรือกลุ่มบุคคลก็ได้) ที่ตกอยู่ในความยากลำบากที่จะต้องตัดสินใจเลือกสิ่งของ ทางเดินชีวิต หรือการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ระหว่างสองข้อเลือกขึ้นไป บ่อยครั้งก็เป็นล้วนแต่เป็นข้อเลือกที่ไม่ปรารถนา หรือต่างมีข้อดีข้อเสียให้ชั่งใจลำบาก บางทีอาจเป็นการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับกฎเกณฑ์ทางจริยธรรม (ethical dilemma)
ตัวอย่าง:
• My biggest dilemma was the choice of college. I had been offered three places at that time. (ภาวะที่ยากลำบากในการตัดสินใจมากที่สุดของฉันก็คือตอนที่ต้องเลือกว่าจะเรียนต่อที่วิทยาลัยไหน ฉันได้รับการตอบรับถึงสามแห่งด้วยกัน)
• You cannot leave me and Peter waiting for your decision like this. This leaves you on the horns of a dilemma. (คุณไม่สามารถทิ้งให้ผมและปีเตอร์รอคอยการตัดสินใจของคุณอย่างนี้ต่อไปได้อีกแล้ว มันเป็นการปล่อยให้คุณอยู่ในภาวะอิหลักอิเหลื่อ)
• The older you become, the more dilemmas you will face. (ยิ่งคุณแก่มากขึ้นเท่าไหร่ ก็จะยิ่งพบกับการต้องตัดสินใจเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่งบ่อยครั้งขึ้นเท่านั้น)

Terms on Dramatic Situations

cliff-hanging – คำคุณศัพท์คำนี้เป็นไปตามคำตั้งต้น ที่สื่อถึงการตกอยู่สภาวะที่แขวนค้างห้อยต่องแต่งบนหน้าผา จะปีนขึ้นก็ไม่รู้จะไหวหรือไม่ แต่ปล่อยให้ตกลงไปก็ไม่ได้ ถูกนำมาเปรียบเปรยถึงการที่ตัวละครอยู่ในภาวะที่ตึงเครียดจากการตกอยู่ในภาวะที่คับขัน ไม่รู้จะเกิดอะไรขึ้นต่อไปอย่างไร คำที่ใกล้เคียง ได้แก่ nail-biting และ suspenseful
ยังมีรูปคำนาม cliff-hanger ที่หมายถึง สถานการณ์ดังกล่าว หรือเรื่องแต่ง/ละคร/ภาพยนตร์ ที่ดำเนินเนื้อเรื่องไปด้วยกลวิธีดังกล่าว ที่ปล่อยให้ตัวละครตกอยู่ในภาวะคับขันเสี่ยงเป็นตายอยู่เรื่อยเพื่อสร้างความอยากติดตามต่อ
ตัวอย่าง:
• This cliff-hanger had a quite disappointing outcome, with its unrealistic resolution. (นิยาย/ละครที่มีสถานการณ์ตัวละครแขวนอยู่บนเส้นด้ายเรื่องนี้มีตอนจบที่น่าผิดหวัง เพราะสถานการณ์ช่วงท้ายคลี่คลายอย่างไม่สมเหตผล)
• The cliff-hanging plot is an easy way to maintain readers’ interest. (โครงเรื่องที่ให้มีฉากลุ้นระทึก และต้องคอยติดตามตอนต่อไปแบบนี้เป็นวิธีง่ายๆ ที่จะทำให้คนอ่านสนใจติดตามเรื่องราวต่อไปได้)
• With this cliff-hanging situation caused by the boss, he will probably get fed up and quit. (ด้วยสภาพการณ์ที่เจ้านายปล่อยให้เขาต้องมีสภาวะแขวนต่องแต่งไม่รู้จะไปต่ออย่างไรเช่นนี้ เขาคงจะเบื่อและลาออกสักวัน)

Terms on Dramatic Situations

reversal of fortune – เป็นคำนามที่หมายถึงการกลับตาลปัตรของชะตาชีวิต ที่เกิดขึ้นกับคนหรือกลุ่มคน โดยมากมักจะเป็นไปในทางที่เคยดีอย่างมากๆ มาก่อนและมาตกต่ำอย่างรุนแรงภายหลัง ทั้งนี้เพื่อให้เห็นถึงอำนาจของโชคชะตา
คำที่ใกล้เคียงคือ peripeteia หรือ peripetia ซึ่งมารากจากภาษากรีก เป็นศัพท์ทางวรรณกรรม
ตัวอย่าง:
• The life of this business tycoon is full of reversals of fortune. (ชีวิตของนักธุรกิจทรงอิทธิพลคนนี้เต็มไปด้วยความผันผวนของโชคชะตา)
• Once at the top, the sudden reversal of fortune made him fall to the bottom. (ครั้งหนึ่งเขาเคยอยู่บนจุดสูงสุดของชีวิต แต่โชคชะตาที่ผลิกพันอย่างฉับพลัน ก็ทำให้ชีวิตเขาร่วงหล่นลงมาอยู่เบื้องล่าง)
• Despite several reversals of fortune in her life, she didn’t give up easily. (ทั้งที่ชีวิตมีความผกผันมากมาย แต่เธอก็ไม่ยอมย่อท้อต่อชีวิตง่ายๆ)