Rules of Inverted Sentences

Rules of Inverted Sentences
Rules of Inverted Sentences

Rules of Inverted Sentences – จับหลักประโยคสลับหลัก-กริยาหน้าประธาน

ในภาษาอังกฤษมีรูปประโยคที่สลับเอาคำกริยา ซึ่งมักเป็นกริยาช่วยมาไว้หน้าประโยค/ประธาน จัดเป็นลีลาพลิกแพลงที่ทำให้การเขียนมีสีสันขึ้น แต่ก็สร้างความยุ่งยากให้กับคนที่ไม่ใช่เจ้าของภาษามิใช่น้อย โดยเฉพาะกับผู้ยังมีทักษะในระดับพื้นฐาน เพราะทำให้ดูคล้ายกับประโยคคำถาม ทั้งในรูป Wh-question และ Yes/No-question ที่มีหน้าตาการนำกริยาช่วยมาวางหน้าประธานที่คล้ายกัน (โดยบางตำราก็จัดว่าเป็น inversionประเภทหนึ่ง) ลองดูการจำแนกเป็นหกกลุ่มหลักๆ ดังนี้ จะทำให้เข้าใจง่ายขึ้นค่ะ

  1. ประโยคตามหลังแสดงความคล้อยตามหรือไม่คล้อยตาม ที่ขึ้นต้นด้วยคำเหล่านี้: so, nor และ neither โดยทางไวยากรณ์เรียกว่าเป็น affirmative and negative agreement แต่ทั้งนี้ไม่สามารถใช้ได้กับ either และ too:

Ben drinks a lot, and so does Alan. (รูปประโยคปกติไม่สลับคือ Ben drinks a lot, and Alan does too.) (เบนเป็นคนดื่มหนัก อลันก็เช่นกัน)

Mary is not an active staff member, and nor is Peter. (แมรี่ไม่ใช่เป็นพนักงานที่แข็งขัน ปีเตอร์ก็ไม่ได้เป็นเหมือนกัน)

  1. ประโยคขึ้นด้วยกริยาวิเศษณ์ที่มีความหมายเชิงปฏิเสธ (negative adverbial expressions) ได้แก่ never, rarely, hardly, never, in no way, little และอื่นๆ :

Never have I travelled to that site. (ฉันไม่เคยเดินทางไปยังจุดนั้นเลย)

Hardly did I go to theatre. (ฉันแทบจะไม่เคยไปโรงละครเลย)

In no way can I forgive this insult. (ฉันไม่มีทางที่จะยกโทษให้กับการดูหมิ่นนั้น)

Little did my parents know I used to smoke in the garden shed. (พ่อแม่ของฉันรู้เรื่องราวเกี่ยวกับการที่ฉันเคยสูบบุหรี่ในห้องเก็บของในสวนน้อยมาก)

  1. ประโยคขึ้นต้นด้วย only และ not only :

Only after finishing your homework can you play. (เธอจะเล่นได้ก็ต่อเมื่อทำการบ้านเสร็จแล้ว)

Not only did he take some, but he took the lot. (เขาไม่ได้เพียงแต่เอาไปเพียงแต่บางส่วน แต่เขาเอาไปทั้งล็อต)

  1. ขึ้นต้นด้วยบุพบทวลีบางตัว :

Behind me are my pets. (ข้างหลังฉันคือบรรดาสัตว์เลี้ยงของฉัน)

Over the rainbow lies a crock of gold. (เหนือบนสายรุ้งนั่นมีไหใส่ทองคำอยู่)

  1. ประโยคขึ้นต้นด้วยกริยาวิเศษณ์ว่าด้วยสถานที่ มีแค่สองคำ คือ here และ there แต่กลุ่มนี้ต้องตามด้วยคำกริยาหลัก(main verb) ไม่ใช่กริยาช่วย(auxiliary verb) :

There is a company with good governance. (มีบริษัทหนึ่งที่มีธรรมาภิบาลในการบริหาร)

Here comes the rain. I can see raindrops here and there. (และแล้วฝนก็ตก ฉันมองเห็นหยาดฝนไปทั่วทุกหนแห่ง)

  1. ประโยคเงื่อนไข (conditional sentence) ที่ไม่มีสันธานมาช่วย(conjunction) ซึ่งจัดเป็นรูปประโยคพลิกแพลงแสดงลีลาในภาษาเขียน และมักสร้างความเข้าใจผิดว่าเป็นประโยคคำถามที่ตกหล่นเครื่องหมายคำถามไปหรือเปล่า :

Had you been there, you could have met him. (ถ้าเธออยู่ตรงนั้น เธอก็คงจะได้พบเขา)

Were they my student, I would help them to pass that compulsory subject. (ถ้าพวกเขาเป็นนักเรียนของฉัน ฉันก็จะช่วยให้พวกเขาสอบผ่านวิชาบังคับตัวนั้นได้)

อย่างไรก็ตามมีรายละเอียดที่ต้องศึกษาเพิ่มเติมอื่นๆ อีก เช่น กริยาช่วยที่อยู่หน้าประธานมักจะแย่งผันรูปตาม tense มาจากกริยาหลัก ทำให้กริยาหลักอยู่ในรูปที่ไม่ได้ผัน  อย่าลืมลองหาแบบฝึกหัดมาทำเพื่อทำความเข้าใจเพิ่มเติมดูค่ะ