Writing Fractions in English Word Form

Writing Fractions in English Word Form
Writing Fractions in English Word Form

Writing Fractions in English Word Form – วิธีการเขียนเศษส่วนจากจำนวนตัวเลขเป็นตัวอักษรในภาษาอังกฤษนั้นไม่ยากหากเป็นกรณีเศษส่วนธรรมดา แต่สำหรับการเขียนเศษส่วนประเภทพิเศษอื่นๆ จะมีกฎเกณฑ์พอสมควร ลองไล่จากง่ายไปหายากกันค่ะ เผื่อใช้ในการอธิบายข้อความทางคณิตศาสตร์ สถิติ หรือการคำนวณต่างๆ
กรณีเศษส่วนธรรมดา ที่มีจำนวนเศษเท่ากับ 1 (the numerator being 1): ใส่จำนวนเศษ(numerator) ด้วยone ต่อด้วยเครื่องหมายhyphenแบบสั้น และจบจำนวนส่วน(denominator)ด้วยรูปแสดงลำดับที่โดยไล่จาก third, fourth, fifth…. ไปตามตัวเลขที่ปรากฏ ทั้งหมดนี้เขียนติดกัน (ส่วนกรณี second และจำนวนที่เกินกว่า 20 นั้น ให้ดูด้านล่าง) ทั้งหมดนี้มักเขียนติดกัน แต่ก็พบการเขียนแบบไม่มี hyphen และไม่ติดกัน
ตัวอย่าง: one-third(1/3), one-eighth(1/8), one-eleventh(1/11)
About one-third of the visitors today is male.


กรณีเศษส่วนธรรมดา ที่มีจำนวนเศษมากกว่า 1 จนถึง 20 (the numerator being any number between 1 and 20): ใส่จำนวนเศษด้วยคำตามจำนวนเลขโดยไม่ต้องปรับรูปใดใด ต่อด้วยเครื่องหมายhyphenแบบสั้น และจบจำนวนส่วนด้วยรูปแสดงลำดับที่ ไล่จาก third, fourth, fifth…. ไปตามตัวเลขที่ปรากฏ แต่ต้องเติม s ด้านท้ายแสดงความเป็นพหูพจน์ ทั้งหมดนี้มักเขียนติดกัน แต่ก็พบการเขียนแบบไม่มี hyphen และไม่ติดกัน
ตัวอย่าง: two-thirds(2/3), four- eighths(4/8), eleven-twentieths(11/20)
This bottle is only two-thirds full.


กรณี ½ และ ¼ : พบบ่อยๆ ในสูตรอาหาร และการชั่งตวงวัด ต่างๆ กรณีเศษส่วนสองจำนวนนี้ สำหรับ ½ จะไม่เขียนว่า one-second แต่เป็น one-half, one half หรือ a half แทน ส่วน ¼ จะเขียนด้วย one-fourth, one quarter หรือ a quarter ก็ได้ ส่วน ¾ จะเขียนด้วย three-fourths, three-quarters หรือ three quarters ก็ได้
ตัวอย่าง: One-fourth equals two-eights(1/4 = 2/8).
This cake recipe requires one and a half (1 ½) cups of sugar and three and three quarters cups (3 3/4) of flour.


กรณีที่ตัวเลขมีจำนวนมากกว่า 20 (fractions being larger than 20): หากจำนวนเศษและจำนวนส่วนมีตัวเลขเกิน20 ไปมากๆ การใส่เครื่องหมาย hyphen ซ้ำซ้อนไปมาจะทำให้สับสน จึงเว้น hyphen ตรงกลางออกไปเสีย ตัวอย่างเช่น twenty one hundred and firsts (20/101), forty-five eighty-firsts(45/81), seventeen two-hundredths(17/200) และ one thousandth (1/1000)


กรณีพิเศษของเศษส่วนเกิน (improper fractions): คือเศษส่วนที่มีค่าของตัวเศษมากกว่าตัวส่วน ให้เขียนไปตามจำนวนตัวเลขในจำนวนเศษ และตามจำนวนตัวเลขแสดงความเป็นลำดับที่ในจำนวนส่วน เหมือนกันกับกรณีธรรมดาที่มีจำนวนเศษมากกว่า 1 ตัวอย่างเช่น twelve-sevenths(12/7), seventy-one thirds(71/3).


กรณีพิเศษของจำนวนคละ (mixed fractions หรือ mixed numbers): จำนวนคละเป็นการนำจำนวนเต็มประกอบเข้ากับเศษส่วนแท้ ให้เขียนจำนวนเต็มข้างหน้าด้วยคำตามตัวเลขปกติ คั่นด้วยด้วยคำว่า and และตามด้วยการเขียนแสดงจำนวนเศษส่วนเหมือนกับหลักข้างต้น ตัวอย่างเช่น nine and three-fifths(9 3/5), twenty-nine and fifty-one sixty-thirds (29 51/63).